วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์

      1. ผลิตมหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว  ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านจิตวิทยาการศึกษา  จิตวิทยาการแนะแนว  และจิตวิทยาการปรึกษา

      2. ให้บริการรายวิชาต่าง ๆ แก่นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา  และให้บริการรายวิชาในกลุ่มวิชาชีพครูบังคับ กลุ่มวิชาชีพครูเลือก และวิชาเลือกเสรี แก่นิสิตระดับปริญญาตรี ในหลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต รวมทั้งวิชาเลือกเสรีสำหรับนิสิตปริญญาตรีหลักสูตรอื่น ๆ

      3. ส่งเสริมการศึกษาวิจัย และช่วยสนับสนุนการศึกษาในสาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ตลอดจนสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

      4. ให้บริการวิชาการแก่สังคมในรูปแบบต่าง ๆ

      5. ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทยด้านจิตใจที่เป็นภูมิปัญญาไทยในการดำเนินชีวิต (ศาสนา ความเชื่อ  เจตคติ และค่านิยมเชิงสร้างสรรค์)

 

กลุ่มวิชาของภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

      1. กลุ่มวิชาจิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology )

      2. กลุ่มวิชาจิตวิทยาการแนะแนว  (Guidance Psychology)

      3. กลุ่มวิชาจิตวิทยาการปรึกษา  (Counseling Psychology)

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

       1. อาจารย์ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาในวิชาจิตวิทยา การแนะแนว / การให้คำปรึกษา และวิชาที่เกี่ยวข้อง

       2. อาจารย์แนะแนวในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

       3. บุคลากรทางการศึกษาที่ดูรับผิดชอบเกี่ยวกับการแนะแนว การให้คำปรึกษาในทุกระดับการศึกษา

       4. บุคลากรทางด้านแนะแนวอาชีพ

ประวัติภาควิชา

ความเป็นมา

         

        ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนวได้รับการจัดตั้งขึ้นในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 107 ตอนที่ 26 ลงวันที่ 15 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 นับเป็นภาควิชาที่ 5 ของคณะศึกษาศาสตร์ มี 2 สาขาวิชาภายในการดูแลของภาควิชาฯ ได้แก่ สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว และสาขาวิชาการศึกษาพิเศษ โดยมีหน้าที่ผลิตมหาบัณฑิตตามสาขาวิชา และมีภารกิจในการจัดสอนรายวิชาต่างๆ ให้กับหลักสูตรอื่นๆ ทั้งระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา

          ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว เดิมเป็นสาขาวิชาหนึ่งอยู่ในภาควิชาการศึกษาที่รับผิดชอบหลักสูตรจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ระดับบัณฑิตศึกษา  โดยได้รับอนุมัติจากทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2520  หลักสูตรสาขานี้จัดขึ้นเพื่อสนองความต้องการในการผลิตบุคลากรระดับบัณฑิตศึกษาตามแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะที่ 4 (2520 - 2524)  ที่เน้นความเชี่ยวชาญวิชาการเฉพาะด้าน ประกอบกับมีการประกาศใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนวิชาตามความถนัด  ความสนใจ  จึงจำเป็นต้องมีบุคลากรแนะแนว 

          ต่อมาภาควิชาฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตรนี้โดยผ่านความเห็นชอบของทบวงมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 13 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2538  เป็นหลักสูตรที่มีลักษณะเฉพาะ คือให้ความสำคัญกับการฝึกภาคปฏิบัติและเสริมความรู้ด้านพุทธจิตวิทยาควบคู่กับจิตวิทยาตะวันตกให้สามารถปฏิบัติงานทางด้านจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนวได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

          ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ 2548 ของกระทรวงศึกษาธิการ ภาควิชาฯได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรฯ สภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์อนุมัติหลักสูตรฯ เมื่อวันที่ 19 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2550  หลักสูตรปรับปรุง ฉบับพ.ศ. 2550 นี้  เป็นหลักสูตรที่ไม่มีรายวิชารอง และจัดวิชาเอกเลือกเป็น 3 หมวดวิชา คือ จิตวิทยาการศึกษา จิตวิทยาการปรึกษา และจิตวิทยาการแนะแนว  เพื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความถนัด ความสนใจเฉพาะตน  นอกจากนี้ภาควิชาฯ เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาที่กำลังทำงานอยู่ หรือมีประสบการณ์ทำงานมาแล้ว แต่ไม่สามารถลาศึกษาได้ในเวลาปกติให้ได้มีโอกาสในการเพิ่มพูนความรู้ความชำนาญทางด้านจิตวิทยา และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จึงได้ทำการเปิดการสอนหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว(ภาคพิเศษ) แผน ข ในปีการศึกษา 2552  และได้ทำการปรับหลักสูตรอีกครั้งในพ.ศ. 2555 โดยได้รับอนุมัติ และเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการประชุมครั้งที่ 5/2555 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา  หลักสูตรฯ มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือพัฒนาบุคคลเพื่อให้บุคคลรู้จักที่จะช่วยเหลือตนเองได้  จึงจำเป็นที่ผู้เรียนจะต้องมีความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  ประกอบกับงานที่ทำเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของบุคคล ซึ่งต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และยึดหลักคุณธรรมเป็นสำคัญ อีกทั้งต้องมีความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการวิจัยและการค้นคว้าด้วยตนเอง 

          เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559 ที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะศึกษาศาสตร์ ครั้งที่ 11/2559 ได้พิจารณาเห็นชอบให้การบริหารงานของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มาอยู่ภายใต้การบริหารงานของภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว จึงนับเป็นสาขาวิชาที่ 2 ของภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

           มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ประกาศเกียรติคุณยกย่องส่วนงานที่ได้รับรางวัลคุณภาพ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2561 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2561 สำนักงานประกันคุณภาพ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกาศให้หลักสูตรศิปลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว ได้รับการประกาศเกียรติคุณ ประเภทที่ 1 ผลงานดีเด่นประจำปีการศึกษา 2560 ระดับหลักสูตรปริญญาโท

 

หัวหน้าภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  มีรายนามต่อไปนี้

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพา  วีระไวทยะ                21 มี.ค. 2533  - 18 มิ.ย. 2533

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศรีสะอาด  ณ ลำปาง              19 มิ.ย. 2533  -  23 พ.ค. 2543

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัญชัน  เกียรติบุตร                 24 พ.ค. 2543  -  23 พ.ค. 2547

          รองศาสตราจารย์ ดร.รุ่งแสง  อรุณไพโรจน์             24 พ.ค. 2547  -  23 พ.ค. 2551

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรพิมพ์   ถิระวัฒน์                  24 พ.ค. 2551  -  23 พ.ค. 2555

          รองศาสตราจารย์ ดร.จิตตินันท์  บุญสถิรกุล            24 พ.ค. 2555  - 23 พ.ค. 2559

          อาจารย์ ดร.มฤษฎ์ แก้วจินดา                              24 พ.ค. 2559 - ปัจจุบัน

 

History and Background

           The Department of Educational Psychology and Guidance has been established in February, 1990 under the Faculty of Education, Kasetsart University (according to the announcement in the Government Gazette Volume 107, Part 26, February 15, 1990).  We are the fifth department under the Faculty of Education.

           The Department of Educational Psychology and Guidance, which was a major field under the Department of Education, offered a master’s degree program in educational psychology and guidance program for graduate students.  This program was organized to educate graduates as the development plan No. 4 (2520-2524) which, focused on specific technical expertise. Then, the program was approved by Ministry of University Affairs on June 13, 1995.

            This program focused on practicing professional experience and enhancing Buddhism Psychology, to work in Educational Psychology and Guidance fields effectively. In 2005, department of Educational Psychology and Guidance developed the program to suit and conform with Thai Qualifications Framework for Higher Education (TQF). The developed program do not have minor subject and the major subject were divided into 3 major; Educational Psychology, Counseling Psychology, and Guidance Psychology. Also, student can choose the major subject which suit to their interest.  This program was approved on March 19, 2007. Moreover,  department of Educational Psychology and Guidance offered a part time (ภาคพิเศษ)  program (Plan B) for student, who are working full time job.

           The program's curriculum was re-validated by TQF on May 25, 2012. The latest program focuses on encouraging learners to grow up by themselves. Student, who are studying in this program, have to be proficient in theory and practice. Also, they must be capable of acquiring knowledge with the research process and the research on their own.

 

Name list of Head of the Department from past to present:

            Associate Professor Dr.Yupa Viravaidhaya                     March 1990 – June 1990

            Assistant Professor Srisa-ard Na Lampang                    June 1990 – May 2000

            Assistant Professor Unchun Keartibutra                         May 2000 – May 2004

            Associate Professor Dr.Rungsaeng Arunpairojana           May 2004 – May 2008

            Assistant Professor Worapim Thirawat                           May 2008 – May 2012

            Associate Professor Dr.Jittinun Boonsathirakul               May 2012 - May 2016

            Dr.Marid Kaewchinda                                                    May 2016 - Present

ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์

ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์

หมวดหมู่รอง